วัดโพธาราม (วัดหลวงพ่อพระใหญ๋ อ.เมืองบึงกาฬ)
ต้ังอยู่ที่บ้านท่าไคร้ หมู่ที่ 5 ตำบลบึงกาฬ ห่างจากอำเภอเมืองบึงกาฬ 5 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 212 (บึงกาฬ-นครพนม) เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใหญ่ พระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2 ศอก 1 คืบ (5 ฟตุ 4 นิ้ว) ประดิษฐานบนแท่น 4 เหลี่ยม ซึ่งได้บูรณะขึ้นใหม่ในปี 2537 ชาวบึงกาฬได้จัดให้มีการสมโภชหลวงพ่อพระใหญ่ ปีละ 2 คร้ัง คือ ประเพณีบุญเดือน 3 หรือบุญข้าวจี่ มีการถวายปราสาทผึ้งด้วย และประเพณีสรงน้ำหลวงพ่อพระใหญ่ จัดงานสัปดาห์หลังเทศกาลสงกรานต์
พระพุทธคุณ ให้มีความเจริญรุ่งเรือง มีตำแหน่งการงานที่ใหญ่ขึ้น มีโชคลาภแคล้วคลาดปลอดภัย การสักการะ บนบาน สักการะด้วยดอกไม้ ธูปเทียน และบนบานด้วยบั้งไฟ ตะไล ซึ่งในอุโบสถจะให้ผู้ชายเท่านั้นเข้าไปกราบไหว้ ส่วนสุภาพสตรีให้กราบไหว้ บนบาน หน้าอุโบสถ
วัดอาฮงศืลาวาส (แก่งอาฮง อ.เมืองบึงกาฬ)
วัดอาฮงศิลาวาส (แก่งอาฮง) ต้ังอยู่ริมแม่น้ำโขง ตำบลไคสี ห่างจากอำเภอเมืองบึงกาฬ 21 กิโลเมตร บริเวณวัดกว้างขวางและสวยงาม เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธคุวานันท์ศาสดา หล่อด้วยทองเหลือง ลักษณะคล้ายกับพระพุทธชินราช เชื่อกันว่าลำน้ำโขงบริเวณหน้าวัดเป็นจุดที่ลึกที่สุดในแม่น้ำโขง หรือเรียกกันว่า สะดือแม่น้ำโขง ได้เคยมีการวัดโดยใช้เชือกผูกกับก้อนหินหย่อนลงไปได้ถึง 98 วา ในฤดูน้ำหลากกระแสน้ำจะไหลวนเป็นรูปกรวยขนาดใหญ่ เมื่อรูปกรวยแตก จะมีเสียงคล้ายกระแสน้ำไหลเซาะโขดหินแล้วจะค่อย ๆ หายไป เมื่อกระแสน้ำเชี่ยวมาอีกก็จะก่อตัวขึ้นใหม่เกิดสลับกันตลอดทั้งวัน ส่วนหน้าแล้งในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม จะมองเห็นแก่งชัดเจน
หนองกุดทิง (อ.เมืองบึงกาฬ)
หนองกุดทิง ห่างจากตัวอำเภอเมืองบึงกาฬ 5 กิโลเมตร เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 22,000 ไร่ ตามตำนานเล่าว่าแต่ก่อนมีกระทิงป่าชอบมากินน้ำเป็นจำนวนมาก คนในสมัยก่อนจึงเรียกหนองน้ำแห่งนี้ว่า หนองกระทิง แต่ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น หนองกุดทิง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตำบลบึงกาฬ มีหมู่บ้านโดยรอบ เช่น บ้านนาโนน บ้านท่าไคร้ บ้านท่าโพธิ์ บ้านดงหมากยาง บ้านแสนสำราญและบ้านแสนสุข ประชาชนโดยรอบใช้ประโยชน์ในการประมง เลี้ยงสัตว์ ทำการเกษตร และอุปโภคบริโภค มีความหลากหลายทางชีวภาพ ประกอบด้วยสัตว์น้ำกว่า 250 สายพันธุ์ ปลาที่เป็นเอกลักษณ์ไม่มีที่ใดในโลก 20 สายพันธุ์ พืชน้ำกว่า 200 ชนิด นกพันธุ์ต่าง ๆ กว่า 40 ชนิด ด้วยความอุดมสมบูรณ์ดังกล่าว จึงได้ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ (พื้นที่แรมซาร์) สำคัญของโลก เป็นแห่งที่ 11 ของประเทศไทย
ภูทอก (อ.ศรีวิไล)
ภูทอก ในภาษาอีสานแปลว่า ภูเขาที่โดดเดี่ยว เป็นที่ตั้งของวัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก) อยู่ในอาณาเขตบ้านคำแคน ตำบลนาแสง อำเภอศรีวิไล จ.หนองคาย ภูทอกมี 2 ลูกคือ ภูทอกใหญ่ และภูทอกน้อย ส่วนที่นักแสวงบุญและนักท่องเที่ยวทั่วไปสามารถชมได้คือภูทอกน้อย ส่วนภูทอกใหญ่อยู่ห่างออกไป ยังไม่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวไปชมได้ตามปกติ ในอดีตอาณาบริเวณนี้เคยเป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมาย ต่อมา พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ได้เริ่มเข้ามาจัดตั้งเป็นแหล่งบำเพ็ญเพียร เพื่อให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติธรรม เนื่องจากเป็นสถานที่เงียบสงบ เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณะธรรมของภิกษุ-สามเณรและพุทธศาสนิกชนทั่วไป ในเวลาต่อมา ก่อนที่พระอาจารย์จวนจะละสังขาร ได้เล็งเห็นการณ์ไกลที่จะช่วยเหลือชาวบ้านแถวนี้ให้มีรายได้อย่างยั่งยืนและ ถาวร เป็นการตอบแทนบุญคุณญาติโยมที่มีอุปการะ จึงได้ริเริ่มจัดสร้างสะพานไม้และบันไดขึ้นชมทัศนียภาพรอบ ๆ ภูทอก เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธรักษ์ คือการท่อง เที่ยวในเชิงการแสวงบุญหรือธรรมจาริก นักท่องเที่ยวจะได้ประโยชน์จากการเที่ยวชมธรรมชาติคือขุนเขาลำเนาไพรและได้ ศึกษาพุทธศาสนา ส่วนชาวบ้านจะได้ประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าและธุรกิจร้านอาหาร (เงินจะสะพัด) นี่คือการช่วยเหลือประชาชนในแนวทางของพระอริยะ ส่วนพระที่ช่วยเหลือประชาชนโดยการบอกเลขใบ้หวย เป็นการช่วยเหลือที่ไม่จีรังยั่งยืน
การขึ้นภูทอกนั้น ท่านพระอาจารย์จวนเริ่มก่อสร้างบันไดไม้สำหรับไต่ขึ้นไปในปี พ.ศ. 2512 ซึ่งมีทั้งหมด 7 ชั้น ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 5 ปีเต็ม บันไดทั้ง 7 ชั้น แตกต่างกัน ดังนี้
การขึ้นภูทอกนั้น ท่านพระอาจารย์จวนเริ่มก่อสร้างบันไดไม้สำหรับไต่ขึ้นไปในปี พ.ศ. 2512 ซึ่งมีทั้งหมด 7 ชั้น ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 5 ปีเต็ม บันไดทั้ง 7 ชั้น แตกต่างกัน ดังนี้
การขึ้นภูทอกนั้น ท่านพระอาจารย์จวนเริ่มก่อสร้างบันไดไม้สำหรับไต่ขึ้นไปในปี พ.ศ. 2512 ซึ่งมีทั้งหมด 7 ชั้น ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 5 ปีเต็ม บันไดทั้ง 7 ชั้น แตกต่างกัน ดังนี้
ชั้นที่ 1 เมื่อนักแสวงบุญเดินผ่านประตูสวรรค์เข้าไป แม้จะไม่มีป้ายบอก แต่ก็ถือว่าเข้ามาอยู่ในอาณาบริเวณชั้นที่ 1 แล้ว ชั้นที่หนึ่งนี้นักแสวงบุญจะได้สัมผัสกับต้นไม้ใบหญ้าหลากชนิดนานาพันธุ์
ชั้นที่ 2 เป็น บันไดไม้ยาวทอดรับจากชั้นที่ 1 เมื่อเดินตามสะพานไม้ไปเรื่อยๆ จะเห็นสถานีวิทยุชุมชนของวัดอยู่ด้านขวามือ ชั้นที่หนึ่งและสองมีทัศนียภาพที่ไม่ต่างกันมากนัก
ชั้นที่ 3 เป็นสะพานเวียนรอบเขา สภาพเป็นป่าเขามืดครึ้ม มีโขดหินลานหิน สุดทางชั้นที่ 3 มีทางแยกสองทาง ทางซ้ายมือเป็นทางลัดผ่านชั้น 4 ไปสู่ชั้นที่ 5 ได้เลยซึ่งเป็นทางค่อนข้างชัน ผ่านซอกหินที่มีลักษณะเหมือนอุโมงค์ ส่วนทางขวามือเป็นทางขึ้นสู่ชั้นที่ 4 แล้ววกขึ้นชั้นที่ 5 เป็นทางอ้อม (ขอแนะนำว่าควรขึ้นทางนี้ แล้วลงทางนั้น(ทางลัด)
ชั้นที่ 4 เป็น สะพานลอยไต่เวียนรอบเขา มองไปเบื้องล่างจะเห็นเนินเขาเตี้ยๆ สลับกัน เรียกว่า “ดงชมพู” ทิศตะวันออกจดกับภูลังกา เขตอำเภอเซกา ซึ่งมีสภาพเป็นป่าดิบ มีแม่น้ำลำธารหลายสายไหลผ่าน มีสัตว์ป่ามากมายอาศัยอยู่ โดยเฉพาะมีฝูงกามาอาศัยอยู่มาก จึงเรียกกันว่า ภูรังกา แล้วเพี้ยนมาเป็นภูลังกาในที่สุด ชั้นที่ 4 นี้ จะเป็นที่พักของแม่ชี รอบชั้นมีระยะทางประมาณ 400 เมตร มีที่พักผ่อนระหว่างทางเป็นระยะๆ
ชั้นที่ 5 หรือชั้นกลาง เป็นชั้นที่สำคัญที่สุดแต่ไม่ได้สวยที่สุด (สวยที่สุดคือชั้น 6) มีศาลากลางและกุฏิที่อาศัยของพระ และเป็นที่เก็บศพของพระอาจารย์จวนไว้ด้วย ตามช่องทางเดินจะมีถ้ำอยู่หลายถ้ำ เช่น ถ้ำเหล็กไหล ถ้ำแก้ว ถ้ำฤาษี ฯลฯ ตลอดเส้นทางสู่ชั้นที่ 6 มีที่พักเป็นลานกว้างอยู่ราว 20 แห่ง มีหน้าผาชื่อต่างๆ กัน เช่น ผาเทพนิมิตร ผาหัวช้าง ผาเทพสถิต ฯลฯ ถ้ามาทางด้านเหนือจะเห็นสะพานหินธรรมชาติทอดสู่พุทธวิหาร อันเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ด้วย มองออกไปจะเห็นแนวของภูทอกใหญ่อย่างชัดเจน และมีบันไดเวียนขึ้นสู่ชั้นที่ 6
ชั้นที่ 6 เป็นชั้นสุดท้ายของบันไดเวียนรอบเขา มีความยาว 400 เมตร เป็นชั้นที่นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมทัศนียภาพรอบ ๆ ภูทอกได้ดีที่สุดและสวยที่สุด สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชั้นนี้อยู่หลังพระปางนาคปรกซึ่งเป็นปากทางเข้าเมืองพญา นาค
ชั้นที่ 7 จากชั้นที่หกขึ้นมาชั้นที่เจ็ด จะมีบันไดไม้พาดขึ้นมา แต่เมื่อเดินถึงดาดฟ้าชั้นที่เจ็ดแล้ว จะพบแต่ป่าร่มครึ้มสวยงาม ไม่มีอะไรน่าสนใจสำหรับมนุษย์ หากนักท่องเที่ยวโชคดีหน่อยอาจเจองูระหว่างทาง ดังนั้นนักท่องเที่ยวทั่วไปอาจไม่ต้องขึ้นชั้น 7 ก็ได้
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว (อ.บุ่งคล้า)
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว ตั้งอยู่บ้านดอนจิก ห่างจากอำเภอบุ่งคล้า 3 กิโลเมตรและเลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามีเนื้อที่ 186.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 116,562 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอบุ่งคล้า อำเภอเซกา และอำเภอบึงโขงหลง เกือบติดพรมแดนประเทศลาว มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 150-300 เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น บางส่วนเป็นสันเขาหินทราย ลานหินและทุ่งหญ้า มีสัตวป่าชุกชุม เช่น ช้าง เก้ง หมี ชะมด ไก่ฟ้า ลิง ชะนี นานาชนิด แต่เนื่องจากมีป่าดงดิบในเขตจำกัดประมาณ 40 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น สัตว์ใหญ่จึงไม่สามารถเพิ่มขยายพันธุ์ได้มาก และที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว มีสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่พบเพียงแห่งเดียวในประเทศ และในโลก คือ กิ้งก่าภูวัว (Ptyctolaemus Phuwuanensis) กิ้งก่าชนิดนี้ มีการดำรงชีวิตต่างจากกิ้งก่าชนิดอื่น ตอนกลางวันจะอาศัยในถ้ำหรือโพรงหิน ตอนกลางคืนจะออกหากิน เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบเดินป่าศึกษาธรรมชาติ
น้ำตกถ้ำฝุ่น (อ.บุ่งคล้า)
น้ำตกถ้ำฝุ่น อยู่ในบริเวณบ้านภูสวาท ตำบลหนองเดิ่น ตามทางหลวงหมายเลข 212 ก่อนถึงอำเภอบุ่งคล้า 7 กิโลเมตร มีทางแยกขวาไปน้ำตก 4 กิโลเมตร รอบ ๆ เป็นป่าโปร่งที่มีทิวทัศน์สวยงาม ทางเดินเป็นน้ำตกผ่านลานหินทรายกว้างขวาง น้ำตกไหลมาจากหน้าผาหินทรายที่มีลักษณะ เป็นร่องแคบ มองเห็นสายน้ำตกเป็นทางยาว มีน้ำเฉพาะในฤดูฝน
น้ำตกชะแนน (อ.บุ่งคล้า)
ตั้งอยู่ในท้องที่บ้านเทพมีชัย ตำบลหนองเดิ่น อำเภอบุ่งคล้า อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยพิทักษ์ป่าชะแนน เดิมชื่อ “ น้ำตกตาดสะแนน ” (คำว่า “ สะแนน ” เป็นภาษาอีสาน แปลว่า สวยงามที่สุด) เกิดจากลำห้วยชะแนน ประมาณ 2 ชั้น นับเป็นน้ำตกที่ใหญ่และสวยงามที่สุดในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว และเดินทางเข้าถึงได้ยากที่สุด การเดินทางเข้าน้ำตกชะแนนสามารถเข้าได้ 2 ทาง โดยรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ และทางเรือ นอกจากธรรมชาติที่สวยงามและน้ำตกที่น่าสนใจแล้ว ยังมีสะพานหิน (อยู่ก่อนถึงทางเดินเท้าสู่น้ำตก) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น้ำลอดหายไปใต้แนวหินที่มีความยาวประมาณ 100 เมตร และมีบึงจระเข้ซึ่งเป็นบึงขนาดใหญ่ ตั้งอยู่เหนือน้ำตก ครั้งเดินตัดน้ำตกขึ้นไปอีกประมาณ 300 เมตร บริเวณริมบึงมีหาดทรายกว้างเหมาะสำหรับใช้เป็นพื้นที่กางเต้นท์พักแรมได้
น้ำตกถ้ำพระ (อ.เซกา)
ตั้งอยู่บริเวณบ้านถ้ำพระ ตำบลโสกก่าม อำเภอเซกา อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยพิทักษ์ป่าถ้ำพระ ชื่อน้ำตกเรียกตามชื่อของถ้ำที่มีลักษณะเป็นชะง่อนหินบริเวณหน้าผามีรูปปั้นพระพุทธรูปซึ่งสร้างโดยพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อยู่ฝั่งตรงข้ามน้ำตกซึ่งคนท้องถิ่นเรียกว่า “ ถ้ำพระ ” น้ำตกถ้ำพระนี้เกิดจากลำห้วยบังบาตร มีความสูงประมาณ 3 ชั้น บริเวณน้ำตกมีลานหินทรายสีแดงที่โล่งกว้าง มีสภาพธรรมชาติงดงาม สามารถพบเห็นความงามของไม้ดอกนานาพันธุ์ หลากหลายสีสันในช่วงฤดูฝน
น้ำตกเจ็ดสี (อ.เซกา)
น้ำตกเจ็ดสีเดิมเรียกว่า น้ำตกห้วยกะอามซึ่งเกิดจากธารน้ำของห้วยกะอามเป็นน้ำตกจากหน้าผาสูงแล้วเกิดเป็นละอองไอน้ำกระทบกับแสงแดดทำให้เกิดสีต่างๆ ขึ้นจึงเรียกน้ำตกเจ็ดสี มีทั้งหมด 3 ชั้น ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านดอนเสียด หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านต้อง อำเภอเซกา การเดินทางไปน้ำตกเจ็ดสีเดินทางจากบ้านชัยพร-ทุ่งทรายจก-ดอนเสียด ระยะทาง 22 กิโลเมตรและแยกซ้ายไปน้ำตกเจ็ดสีอีกประมาณ 6 กิโลเมตร
บึงโขงหลง (อ.บึงโขงหลง)
บึงโขงหลง เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเชิงนิเวศ เป็นแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ใช้หล่อเลี้ยงประชากรอำเภอบึงโขงหลงและอำเภอเซกาบางส่วน มีเนื้อที่ประมาณ ๑๓,๐๐๐ ไร่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้กรมชลประทาน พิจารณาก่อสร้างโครงการเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตรในหน้าแล้ง ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๓ และประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๕ บึงโขงหลงได้ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำโลก หรือ Ramsar Site ลำดับที่ ๑,๐๙๘ ของโลก (Wetland of International Importance) ประกาศขึ้นทะเบียนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔ และเป็นลำดับที่ ๒ ของประเทศไทย มีพื้นที่กว่า ๒๒ ตารางกิโลเมตร ยาว ประมาณ ๑๓ กิโลเมตร กว้าง ประมาณ ๒ กิโลเมตร เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ และพืชน้ำนานาชนิด เช่น นก กว่า ๑๐๐ ชนิด ปลา ๖๔ ชนิด กุ้ง ปู กว่า ๑๐ ชนิด พันธุ์ไม้น้ำ ๙๑ ชนิด มีปลาที่หายากคือ ปลาบู่แคระ และทุกปีมีการจัดงานประเพณีสงกรานต์ที่บริเวณหาดคำสมบูรณ์
การเดินทาง จากตัวเมืองบึงกาฬใช้ทางหลวงมายเลข 222 เลี้ยวเข้าางหลวงมายเลข 2036 ผ่านอำเภอเซกา บึงโขงหลงจะอยู่ทางด้านซ้ายมือ
วัดสว่างอารมณ์ (วัดถ้ำศรีธน อ.ปากคาด)
วัดสว่างอารมณ์ หรือวัดถ้ำศรีธน ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลปากคาด เดินทางจากตัวเมืองใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๒๑๒ ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร ถึงอำเภอปากคาด มีทางแยกเข้าวัดไปอีกประมาณ 500 เมตร วัดสว่างอารมณ์ตั้งอยู่บริเวณลานหินเนินเขา ร่มรื่นด้วยต้นไม้และลำธารเล็ก ไหลผ่าน บริเวณใต้โขดหินใหญ่ประดิษฐานพระนอนให้ผู้คนได้สักการะบูชา บนโขดหินมีอุโบสถทรงระฆังคว่ำ หากขึ้นไปถึงด้านบนสามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้ไกลจนถึงฝั่งลาว ภายในบริเวณวัดมีรูปปั้นเล่าถึงตำนานศรีธน-มโนราห์ด้วย